LACE for SDGs Training Course

Pazardjik, Bulgaria

7 – 12 April 2018

สวัสดีค่ะ ชื่อยี่ค่ะ ยี่ทำงานกับ VSA เป็น Host Family ที่ Peace Village 2 Korat ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสไปอบรมที่ประเทศบัลแกเรีย และมีเพื่อนร่วมเดินทางในครั้งนี้คือน้องตามจาก VSA Thailand

Lace for SDGs (Learning, Acting , Creating and Education for Sustainable Development Goals) คือชื่อการอบรมในครั้งนี้ โดยมีตัวแทนจาก 5 ประเทศเข้าร่วมการอบรม ได้แก่ บัลแกเรีย อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส และ ประเทศไทย 

วันแรก 7 เมษายน 2018 เครื่องบินลงที่เมือง Sofia ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ เราต้องนั่งรถไฟต่อไปที่ Pazardlik อีกประมาณ 3 ชั่วโมง ถึงสถานีแล้วเราก็เจอ lvaylo เจ้าภาพการจัดการอบรมมารอรับ นั่งรถไปที่โรงแรมแค่ 10 นาที จัดการเรื่องห้องพัก และพักผ่อนตามอัธยาศัย เวลาหนึ่งทุ่มตรง ทุกคนมาพร้อมกันห้องอาหาร มีโอกาสได้พบอาสาสมัครที่บัลแกเรีย ทุกคนให้การต้อนรับยี่กับตามดีมาก  เสร็จจากอาหารเย็น ก็มีกิจกรรมเกมกับเพื่อนใหม่ คืนแรกก็รู้สึกสนุกแล้ว

วันที่สอง 8 เมษายน 2018 เวลาของอาหารเช้าจะเริ่มแปดนาฬิกา พูดถึงอาหารเช้าของคนที่นี่ ก็จะเป็นขนมปังบ้าง เครปบ้าง แล้วก็กาแฟ น้ำส้ม สำหรับยี่ขอแค่กาแฟตอนเช้าก็โอเคแล้ว  

เริ่มกิจกรรมเวลา 10:00 ห้องที่เราใช้ทำกิจกรรมเป็นห้องขนาดกลางเหมาะกับจำนวนคนพอดี เก้าอี้ถูกจัดเรียงเป็นวงกลมขนาดใหญ่ มีlvaylo กับ Albento เป็นผู้ฝึกอบรม ซึ่งใจดีมาก  กิจกรรมแรก Get-to-know and breaking-the-ice games จำนวนอาสารวม 23 คนวันแรกเราต้องมาทำความรู้จักชื่อเสียงเรียงนามกันก่อน เกมแรกที่คือ แนะนำชื่อและทำท่าเสียงสัตว์ร้อง แล้วให้เพื่อนทำตาม หลังจากเกมแรกทำให้สามารถจดจำชื่อเพื่อนได้บ้าง 4-5 คน เข้าเกมที่สอง แจกกระดาษและปากกา เขียนชื่อตัวเองตัวใหญ่ๆ ไว้บนหัวกระดาษพร้อมวาดกรอบรูป แล้วเปลี่ยนกระดาษกับเพื่อน เราได้ของใครก็ให้วาดรูปคนนั้น เปลี่ยนกระดาษอีกรอบเขียนชื่อ มาจากไหน งานอดิเรก สัตว์เลี้ยง ชื่อโครงการที่จะทำ เปลี่ยนกระดาษอีกครั้งเรากจะได้ของเพื่อนคนใหม่ เสร็จแล้วก็นั่งเป็นวง เริ่มอ่านว่าได้ของเพื่อนคนไหน ชื่ออะไร และนำเอาไปคืนเขาเจ้าของภาพวาด 

 ช่วงที่ 2 Sharing fears and expectation หลังจากทานอาหารเที่ยง เป็นกิจกรรม Presentation of the project’s objective, mission, vision and expected results โดยเทรนเนอร์จะอธิบายลักษณะของการที่ริเริ่มทำโครงการ ขั้นตอนคร่าวๆ จุดประสงค์ จากนั้นก็พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันกลุ่มผู้เข้าอบรม 

ตอนเย็นเป็นช่วงเวลาของเดินชมเมือง เราไปกันเป็นกลุ่มใหญ่ เมืองนี้สงบ อากาศดี มีสวนสาธารณะ สวนสัตว์ ที่เดินเล่นฟรี ผู้คนน่ารัก ยิ้มแย้มมาก คืนนี้มี Intercultural night สองประเทศแรกคือบัลแกเรียและไทย เรามีผัดไทไปทำให้เพื่อนๆ ได้ทาน ตามก็มีขนม ลูกอม ที่สำคัญเราแต่งชุดไทยและสอนเพื่อนรำวงเพลงลอยกระทงด้วย เราภูมิใจที่ได้เผยแพร่ประเทศไทยให้ต่างชาติรู้จัก เพื่อนทุกคนประทับใจในประเทศเรามาก ตามกับเราก็เลยยิ้มแก้มปริ  และก็ได้รู้วัฒนธรรมบัลแกเรีย อาหาร ขนม คืนนี้ฝันดีเลยค่ะ 

วันที่สาม 9 เมษายน 2018 เริ่มด้วยการเต้นออกกำลังกายกลางแดดอ่อน ๆ เตรียมพร้อมทำกิกรรม หัวข้อแรกวันนี้คือแบ่งกลุ่ม 4-5 คน ช่วยกันเรียงลำดับขั้นตอนของการเริ่มโครงการที่เราจะทำ และนำเสนอแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม

หัวข้อที่สอง คือ SDGs Sustainable Development Goals 17 หัวข้อผู้เข้าฝึกอบรมแบ่งกลุ่มได้กลุ่มละ 4-5 หัวข้อ แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดความหมายของหัวข้อนั้น ๆ นำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดกันอีกครั้ง ลักษณะการอบรมของค่ายนี้ จะเน้นการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกัน ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้วิธีคิด ทัศนคติ และแนวทางใหม่ๆ ของเพื่อนผู้เข้าร่วมอบรม ประสบการณ์ความรู้ของแต่ละคนเปิดโลกทัศน์เราเอง สนุกและได้ข้อคิดไปในตัว

วันที่สี่ 10 เมษายน 2018 Plovdiv Trip เมืองนี้ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเก่าแก่ที่สุดในบัลแกเลีย ทั้งวันกับการเดิมชมเมือง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ 

 

วันที่ห้า 11 เมษายน 2018 กิจกรรมแรกวันนี้กลางแจ้ง เทรนเนอร์แจกกระดาษใบเล็กๆ ให้ทุกคน มีข้อความอธิบายลักษณะของบุคคลที่มีสิทธิไม่เท่าเทียมกัน ตอนแรกยืนเรียงหน้ากระดาน เทรนเนอร์บอกสิทธิแต่ละข้อ หากบุคคลในกระดาษใบนั้นใครคิดว่าเขามีสิทธิ์ให้ก้าวออกไปทีละข้อ สิทธิข้อสุดท้ายที่เทรนเนอร์บอกจะมีแค่ 1-2 คนมีสิทธิ์เกือบครบทุกคน  จากกิจกรรมนี้เราได้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกัน และกลุ่มคนที่เราต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือพวกเขา

ช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมกลุ่ม แบ่ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งสมมุติเป็นชนเผ่าที่พูดภาษามนุษย์ไม่ได้ และอีกกลุ่มคือวิศวกร โดยเราต้องหาวิธีช่วยให้ชนเผ่านั้นข้ามมาดื่มน้ำจากภูเขาอีกลูกหนึ่ง  โดยห้ามพูด เราไปรวมอยู่กับกลุ่มวิศวกร ช่วยกันคิดวิธีทำสะพานข้ามจากวัสดุปากกา ขวดน้ำ กระดาษลัง เทปกาว เราก็มีความคิดต่างแตกกันอยู่บ้าง แต่สุดท้ายก็ได้สะพานจำลองน่ารัก ๆ  ขั้นตอนการอธิบายให้ชนเผ่าฟังโดยการห้ามพูด คือเราต้องเรียนรู้ท่าทาง ความหมาย เสียงร้องของพวกเขาเพื่อที่จะสื่อสารให้เข้าใจ สอนให้เข้าทำสะพานนี้ให้ได้ ข้อคิดจากกิจกรรมนี้ก็เหมือนการที่เราจะเริ่มทำโครงการเพื่อช่วยใคร เราต้องเข้าใจความต้องการของเขาจริงๆ เพื่อจะได้ช่วยให้ตรงจุด ตรงเป้าหมายเดียวกัน  ที่สำคัญคือต้องเรียนรู้ที่จะเคารพประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละชนชาติ  เพื่อความสงบสุข สันติ ความสุขของอาสาและชมชน

ตอนเย็นให้แต่ละคนวางแผนโครงการของตนเองที่จะกลัมาทำที่ประเทศไทย  โดยคิดผ่านการวาดรูป “มันดาลา” คือ นัยยะแห่งจิตวิญญาณสู่บริบททางศิลปะ เป็นวิธีการที่แปลก แต่มีสมาธิ ความคิดแล่นไปกับรูปที่เราวาด เพื่อเตรียมนำเสนอในวันสุดท้ายพรุ่งนี้

วันที่หก  12 เมษายน 2018 นำเสนองาน เรากับตามเป็นกลุ่มแรก เราสองคนช่วยกันอธิบายความหมายรูป ความหมายของ Peace Village 2 เราทำทำไม เพื่อใคร เพื่ออะไร และจะเริ่มตอนไหนผ่านรูปที่เราวาด รูปเรากับตามไม่เหมือนกันเลย  แต่ความหมายที่จะสื่อถึงโครงการเราเหมือนกันเพื่อนๆ อาสาสนใจในโครงการของเรา  อยากรู้ อยากลองมาร่วมค่าย     เราได้ฟังโครงการของเพื่อนอาสา แต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละประเทศทุกคนมีความตั้งใจที่จะเป็นอาสาสมัครมีจิตอาสาที่จะช่วยเหลือแบ่งปันกัน

ช่วงบ่ายวันสุดท้าย  เทรนเนอร์ Albento อธิบายโครงการ Erasmus ให้ฟัง หลังจากนั้นก็เป็นการประเมินกิจกรรม พูดคุยแลกเปลี่ยนที่สิ่งได้รับ  ที่คาดหวังไว้ กิจกรรมสุดท้ายคือ โยนไหมพรมขอบคุณทุกๆคน.

 กืจกรรมการอบรมค่ายแรกของยี่ สนุกมาก ได้ประสบการณ์ ได้เพื่อน ได้ข้อคิดเยอะมากๆ ค่ะ ขอบคุณตาม เพื่อนเดินทาง ที่ไปด้วยกัน  ช่วยกันคิด ทุกกิจกรรมผ่านไปด้วยดีมากกกก เราสองคนคล้ายๆ กันเนอะตาม. ขอบคุณ VSA Thailand ที่ให้โอกาสยี่ไปในครั้งนี้ค่ะ.