RED Onion: by Parin

Recognition of non formal education, Empowerment of Young people and Development of Youth Work – Onion

 Red Onion คือโครงการร่วมมือกันของ 8 ประเทศในยุโรปและเอเชียจัดโดยองค์กร YUPI ประเทศโปรตุเกส ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการศึกษานอกระบบ การพัฒนาศักยภาพของเยาวชน และการพัฒนาบุคลากรที่ทำงานกับเยาวชน

องค์กรเข้าร่วมจากเอเชีย ได้แก่ VSA ประเทศไทย DEJAVATO ประเทศอินโดนีเซีย CSDS ประเทศเวียดนาม JRP ประเทศอินเดีย พร้อมกับจากยุโรป GENESIS สาธารณรัฐเช็ก SEMPER AVANTI ประเทศโปแลนด์ TEIS ประเทศฮังการี และ YUPI ประเทศโปตุเกส

โครงการเริ่มด้วยการประชุมที่ประเทศโปรตุเกสระหว่างวันที่ 23 – 27 มกราคม 2561 ณ เมืองเล็ก ๆ ทางตอนเหนือ Vila Nova de Famalicao 

เรามารู้จักความสัมพันธ์ระหว่างไทย-โปรตุเกสกันก่อน ในศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเข้ามาติดต่อกับไทยเพื่อรักษาอำนาจทางเศรษฐกิจและอิทธิพลทางการค้า กระทั่งปี พ.ศ. 2088 สยามจึงยอมรับโปรตุเกสในฐานะพันธมิตร จากการช่วยร่วมรบกับพม่าที่เชียงกราน ชาวโปรตุเกสได้รับการจัดสรรที่ดินในอยุธยา โดยสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงให้ลงหลักปักฐาน สร้างบ้านและโบสถ์ได้ หลังจากนั้น จึงตามมาด้วยช่วงเวลาแห่งการผสมผสานทั้งสองวัฒนธรรม ว่า 500 ปี สถานกงสุลแห่งแรกในประเทศไทยคือสถานทูตโปรตุเกส สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2

โปรตุเกสเป็นหนึ่งในสมาชิกของสหภาพยุโรป โดยการขอวีซ่าหรือการตรวจลงตราเข้าโปรตุเกส ต้องติดต่อที่สถานทูตโดยตรงไม่ผ่านตัวแทน ซึ่งจะได้รับใช้ Schengen Visa ที่สามารถเดินทางได้ในสหภาพยุโรป เริ่มต้นโดยการเขียนอีเมลแจ้งความจำนงเพื่อขอรับใบคำร้องขอวีซ่าพร้อมกับนัดหมาย เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายในเวลาประมาณ 3 วัน ใช้เอกสารประกอบเช่นเดียวกับการขอวีซ่าประเภทท่องเที่ยวทั่วไป ถึงวันนัดหมายให้ไปถึงก่อนเวลาประมาณ 30 นาที เจ้าหน้าที่จะให้เข้าไปนั่งรอในสถานทูต เจ้าหน้าที่สุภาพและพูดจาดีมาก

การเดินทางจากไทยถึงโปรตุเกส โดย Turkish Airline จากสุวรรณภูมิถึงอิสตันบูลใช้เวลา 11 ชั่วโมง รอเปลี่ยนเครื่อง 3 ชั่วโมง บินไปเมืองปอร์โต้อีกเกือบ 5 ชั่วโมง และนั่งแท็กซี่ต่อไปเมืองวิลลา โนวา เดอ ฟามาลิเคาอีก 30 นาที เวลาที่นี่ช้ากว่าไทย 7 ชั่วโมง ตื่นเช้ามาก็ตอนบ่ายที่ไทยแล้ว

การประชุมจัดขึ้นที่องค์กร YUPI ตั้งอยู่ที่สถานีรถบัส อาคารที่สถานีนี้ถูกทิ้งว่างเปล่าไร้ผู้เช่า เทศบาลท้องถิ่นจึงเปิดให้องค์กรไม่หวังผลกำไรภาคเอกชนมาใช้ YUPI จึงมีโอกาสได้ใช้อาคารเพื่อเป็นสำนักงาน เปิดโอกาสให้เยาวชนเรียนรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจเพื่อสังคมยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศโปรตุเกส อาคารสำนักงานหลังนี้ได้รับการปรับปรุงโดยเยาวชนอาสาสมัครทั้งหมด ทั้งทุบกำแพง ทาสี เดินสายไฟ หรือมแกระทั่งติดตั้งพัดลม

ในโครงการนี้ มีการแลกเปลี่ยนอาสาสมัครระหว่างหน่วยงานในทวีปยุโรปและเอเชียเป็นเวลา 6 เดือน เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยไปเสริมสร้างประสบการณ์อาสาอาสมัครและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ประเทศโปรตุเกส พร้อมต้อนรับอาสาจากประเทศฮังการีเพื่อปฏิบัติงานในประเทศไทย อาสาสมัครจะมีโอกาสเข้าอบรมเพื่อเตรียมตัวที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลา 5 วัน และเดินทางต่อไปประเทศที่ได้รับมอบหมายกับตัวแทนองค์ประเทศนั้น ๆ ระหว่างประจำอยู่ต่างประเทศอาสาอาสาสมัครจะมีการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพตัวเองผ่านทาง E-Learning Platform ที่สร้างขึ้นสำหรับโครงการโดยเฉพาะ หลังจากจบโครงการอาสาจะนำประสบการณ์การเรียนรู้ต่างแดนมาถ่ายทอดผ่านกิจกรรมเรียนรู้ให้เยาวชนไทยต่อไป