Capacity Training on RED onion project 

7-12 January 2019 in India

VSA sent 5 representatives to the training with these all  reflecting from them.

Hello everyone. My name is Chayanit Bunpakdee or Joy from Thailand. I’m a member of VSA Thailand about 4 years now. Few weeks ago I got an opportunity to be a part of participant to training for educators in non-formal education by RED Onion (Recognition of non-formal education, Empowerment of Young people and Development of Youth Work - Onion) project at Bhubaneswar, India for 6 days. The project also have participant from Indonesia, Vietnam, and India.

This project is focusing on Non-formal Education which is the education that focus on activities, game, or experiences more than just a book or classroom. I’ve heard about Non-formal Education before, but I had no idea how it look like and how to apply it with other knowledge. After I joined this project, I knew more the detail of Non-formal Education, how important is it, and how to apply it with formal education. In my opinion, Non-formal Education is very interesting because it make learner can learn new lessons and enjoy with it together. This is can make that lessons more interesting and learner not get bored during class. The training made me got a lot of new idea for games or activities that I can apply it with the children. One part that I like the most from this training is the trainer always have some energizing game before start the new lessons which is really good, because the game made us feel more active and get ready for next activity. 

During  6 days of training not only gave me some new knowledge or new idea, but it also made me know new friends, tried new foods, learned new culture and explore around the city which are really nice and very interesting for me. I would like to say thank you VSA and another organization that gave me a very good opportunity to join this project. This project is very useful and very important for education.  I will try my best to share new knowledge and my experience to other people, and I will try to be part of Non-formal Education as much as I can. 

 

Hello everyone, my name is Tabbie from Thailand. In my free time, I like to find something new to do. I have been being a volunteer for years. Because I like to meet new people, talk and share experiences with them. The most attractive project for me is working with children, especially motivate them to play and learn. But the different background of the children is the most important for their learning. That’s why I think we should know how to organize the activities to make everyone gets involved, learn and enjoy together.

I got a chance to participate in the training of educators on Non-Formal Education of RED Onion project which was organized on January 7-12, 2019 in Bhubaneswar, India. There were 6 representatives from VSA Thailand. Also the participants from Vietnam, Indonesia, and India. Mariana from Portugal and Zora from Hungary were the instructors. They introduced us not only about the concept of Non-Formal Education but also the process, how to create the activities for every target group, things we should concern when creating the activity and the techniques to make the activity more attractive and effective.

Furthermore, Mariana and Zora assigned us to create the new activity and do it together like a simulation to see the result and get the comments from the group. I enjoyed this part very much.

Moreover, we had the opportunity to share our experience. We discussed the reflection of other’s experience, shared opinions and feelings. Then, we tried to relate them to our own experience and thought how to apply them to our real life.

Finally, I would like to thank you RED Onion project and Mariana and Zora, our amazing instructors, for organizing this training and for giving us the knowledge about Non-Formal Education. In addition, thank you VSA Thailand for giving me this opportunity.  I have learned a lot from this project. Not only the knowledge and idea of Non-Formal Education, but also new friends and new experiences in India such as places, food, people and culture. 

 

Hello, my name is Tata from Thailand. This time I was given the good opportunity to be a delegate to participate in training for educators in non-formal education by RED Onion (Recognition of non-formal education, Empowerment of Young people and Development of Youth Work - Onion) project at Bhubaneswar, India from 7-12 January. This is my first visit to India, at first time I worried to go to this country, but when I visit this country, I was very impressed. India is a fascinating country. There are many beautiful places and people here are very friendly. 

This training is related to Non formal education, which is a combination of games and activities to bring to the knowledge and be one of the new ways of learning. The main activities we have done are creating activities and brainstorming with other volunteers. This training has 24 volunteers from 4 countries; Vietnam, Indonesia, India and Thailand. All of us can work together very well. We are very close in just 6 days and I have received a lot of friendship from them.

Finally, I would like to thank you to VSA and Red Onion project for giving me this special opportunity. This training was not only to educate me, but also to improve my potential, giving me more courage and confidence and also give me a great opportunity to learn a lot of new things, gain a special experience that I think I cannot find from anywhere, and also get good friendship from volunteer friends 

 

 “RED  ONION” International  Training  

สู่ ห้องเรียนคุณภาพ

การเรียนการสอนในโรงเรียน  ปัจจุบันนี้มีความแตกต่างกันไปตามแนวคิด หลักสูตรและค่านิยม ความเชื่อของสังคม ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือต้นสังกัดที่แตกต่างกันและมีหลากหลาย  เช่น  สังกัด  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.)  สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  (อปท.).  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และอื่นๆ  แต่ทั้งหมดต้องจัดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553  ด้วยเหตุนี้โรงเรียนส่วนใหญ่ของประเทศจึงถูกครอบด้วยกฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ ต่างๆ  การจัดการศึกษาของโรงเรียนจึงถูกสืบทอดแนวคิดและแนวปฏิบัติต่อกันมา ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพคนของประเทศดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

โรงเรียนบ้านโกรกลึก  เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก  มีที่ตั้งอยู่ในเขตชนบทห่างไกล  ในอำเภอด่านขุนทด  จังหวัดนครราชสีมา  จัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กๆลูกหลานในหมู่บ้านได้มีความรู้ ความสามารถตามเกณฑ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและมีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้  การใช้ชีวิต  และการทำงาน  ดังนั้นจึงเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารและคณะครูที่จะแสวงหาโอกาส  และนำมาพัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนของคณะครู  โรงเรียนบ้านโกรกลึกได้มีโอกาสรับอาสาสมัครต่างชาติ   จากสมาคมจิตอาสา  (Volunteer Spirit Association  : VSA)  ตั้งแต่ ปี  พ.ศ. 2558  จนถึงปัจจุบัน  มีอาสาสมัครเข้ามาทำหน้าที่ครูอาสาแล้วกว่า  50  คน  

จากการเป็นตัวแทนของสมาคมจิตอาสา VSA จากประเทศไทยเข้าร่วมประชุมในหลักสูตร Development of Youth Worker Through Non-Formal Education   กับองค์กรอาสาสมัครนานาชาติ  JRP  ประเทศอินเดีย  องค์กร  Dejavato  จากประเทศอินโดนีเซีย และ องค์กร  CSDS จากประเทศเวียดนาม  ระหว่างวันที่    7 – 12   มกราคม  2562    เป็นเวลารวมทั้งสิ้น  6   วัน  ณ เมือง บูบันเนสซวาร์   รัฐโอริสา  ประเทศอินเดีย  โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ  คือ  การสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ ในการรับอาสาสมัครในการปฏิบัติงานจิตอาสาในองค์กรต่างๆ  และการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการเรียนรู้  รูปแบบไม่เป็นทางการ (Non-Formal Education )  นอกจากนี้ยังมีโอกาสนำเสนอตัวอย่างและวิธีการนำกระบวนการเรียนรู้ ไปใช้ในสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในหน่วยงานของตนเอง  อีกประการหนึ่งคือเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของหน่วยงานของตนเองและร่วมเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้

หลังจากเข้าอบรมตามหลักสูตรดังกล่าวแล้ว ทำให้ได้ทราบถึงการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง  ที่ไม่ติดในกรอบของหลักสูตร  สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ  โดยสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย  เวลา  โอกาสและข้อจำกัดต่างๆ  ได้เรียนรู้เทคนิค วิธีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงความสนใจของผู้เรียนก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้  (Energizer)  เช่น  เทคนิคการจำชื่อ  เทคนิคการปรบมือ  การใช้เกม  เพลง   เป็นต้น  ได้เรียนรู้องค์ประกอบของการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ  โดยเริ่มจากการให้ประสบการณ์  (Experience) โดยสามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนให้ปรับความคิดให้เข้ากับเรื่องที่เราต้องการให้เกิดการเรียนรู้  โดยใช้  เรื่องจริง  เรื่องเล่า  สถานการณ์  บทบาทสมมุติ  ข่าว  ภาพยนตร์  โฆษณา  เป็นต้น   จากนั้นให้ผู้เรียนสะท้อน (Reflection) ในสิ่งที่ได้ฟัง   ได้เห็น  โดยบอกความรู้สึก   บอกสิ่งที่สังเกตเห็น  บอกสิ่งที่เกิดขึ้น   ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการสร้างองค์ความรู้ใหม่  (Conceptualization)  โดยให้ผู้เรียนพยายามเชื่อมโยงกับระบบ ทฤษฎี  และประสบการณ์เดิม โดยครูจะเป็นผู้ตั้งคำถาม  ด้วย  W-question   ขั้นสุดท้ายคือ  การนำไปใช้ (Application)  ขั้นนี้จะเป็นการคิด  พิจารณา ใคร่ครวญ  เพื่อปรับไปใช้ในชีวิตจริง  โดยสร้างการเปลี่ยนแปลงแนวคิด  สร้างชิ้นงานใหม่ๆ  หรือมีแนวทางใหม่ๆในการดำเนินงานตลอดจนการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพต่อไป 

นอกจากนี้ ยังได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมา  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับคณะครู  ผ่านกระบวนการ  PLC : Professional  Learning  Community  โดยมุ่งไปที่การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการจัดการเรียนการสอนของคณะครู  โดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียนได้ทุกคน  โดยครูจะต้องเป็นผู้อดทน   รอคอย  ไม่ด่วนสรุปให้  ไม่รีบบอกคำตอบ  แต่ครูจะต้องมีทักษะในการใช้คำถามให้นักเรียนได้คิด  หากนักเรียนยังไม่เข้าใจก็จะต้องเปลี่ยนสิ่งเร้าใหม่  ให้เหมาะสมกับความสนใจของผู้เรียน  และใช้คำถามให้ผู้เรียนได้สะท้อนออกมา  และจะต้องให้ผู้เรียนเชื่อมโยงตัวเองให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน  เพื่อหาแนวทางในการสร้างการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาให้เป็นห้องเรียนคุณภาพต่อไป

การุณ ชาญวิชานนท์

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโกรกลึก นครราชสีมา