What is I.V.S?

Post date: Apr 16, 2015 10:08:05 AM

I.V.S. is International Voluntary Service หรือกิจกรรมอาสาสมัครแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ เกิดขึ้นตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หรือปี 1920  จากการรวมตัวอาสาสมัครเพื่อที่จะฟื้นฟูประเทศฝรั่งเศสที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม อ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ SCI (Service Civil International) ซึ่งเป็นหน่วยเริ่มแรกที่เริ่มกิจกรรมอาสาสมัครระหว่างประเทศ

ในประเทศไทย ย้อนกลับไปประมาณ 15 ปี ได้เกิดหน่วยงานที่ทำงานด้าน I.V.S. ชื่อ Greenway Thailand โดยผู้ก่อตั้งเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ ได่ริเริ่มกิจกรรมอาสาสมัครแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในประเทศไทย ในยุคนั้นประเทศไทยถือว่าเป็นสวรรค์ของนักเดินทางทั่วโลก จากผลของการปฏิรูปอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของรัฐบาล หรือที่คุ้นหูดกันใน Campaign "Amazing Thailand" อาสาสมัครต่างชาติที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมในประเทศไทยมีจำนวนนับพันต่อปี แต่จำนวนของอาสาสมัครไทยที่เดินทางไปร่วมกิจกรรมในต่างประเทศนับจำนวนตัวเลขไม่ถึงสองหลัก

ความตื่นตัวด้านงานอาสาสมัครในประเทศไทยถูกกระตุ้นขึ้นมาอีกครั้งด้วยเหตุการณ์ภัยพิบัติ "สึนามิ" ที่ชาวไทยก็เพิ่งรู้จักหลังเกิดเหตุการณ์ หน่วยงานอาสาสมัครต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศไทย และคนไทยก็ไม่เคยทิ้งกัน ทำให้การเฉลิมฉลองปีใหม่ 2548 เป็นการรวมคลื่นพลังอาสาสมัครสู่ท้องทะเลอันดามัน

ในปัจจุบัน (สองสามปีที่ผ่าน) หน่วยงานด้านอาสาสมัครเกิดขึ้นมากมาย และกิจกรรมอาสาสมัครได้รับการยอมรับและประชาสัมพันธ์ รวมถึงให้งบประมาณสนับสนุนมากขึ้นจากภาครัฐ กิจกรรมอาสาสมัครในต่างประเทศได้รับการยอมรับ และให้ความสนใจมากขึ้น โดย VSA Thailand เป็นหนึ่งในหน่วยงานแลกเปลี่ยนอาสาสมัครภายใต้ระบบ I.V.S.

เป้าหมายคืออะไร

จากยุคหลังสงครามโลก เช่นเดียวกับยุค "สึนามิ" ของไทย ที่งานอาสาสมัครคือการช่วยเหลือ แต่ปัจจุบัน เป้าหมายหลักของการทำงานด้านอาสาสมัคร คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ ผ่านการทำกิจกรรมจิตอาสา ดังนั้น งานจิตอาสาจึงเป็นเป้าหมายรอง

สาเหตุที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ เป็นเรื่องหลัก เพราะความเข้าใจความแตกต่างจะเป็นพื้นฐานของความสงบสุข หลีกพ้นสงคราม เรามุ่งมาดให้สิ่งเดียวที่มนุษย์ควบคุมไม่ได้คือธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้นความขัดแย้งใด ๆ ที่เกิดจากความแตกต่างด้านความเชื่อ ความไม่เข้าใจ สามารถให้ความรู้ความเข้าใจได้ โดยกิจกรรมอาสาสมัครระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ง่ายที่สุดที่ทุกคนจะได้รับโอกาสในการเรียนรู้ื เพราะเม็ดเงินที่น้อยที่สุด และสังคมของผู้คนที่พร้อมจะเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยไม่ตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอก

VSA Thailand แตกต่างจากหน่วยงานอาสาสมัครอื่น ๆ อย่างไร

VSA Thailand หรือชื่อเต็มอย่างเป็นทางการ Volunteer Spirit Association เป็นหน่วยงานอาสาสมัครที่ริเริ่มโดยคนไทย ได้รับการยอมรับในนานาประเทศให้เข้าร่วมเครือข่าย I.V.S. ที่สามารถจัดกิจกรรมภายในประเทศและแลกเปลี่ยนอาสาสมัครภายนอกประเทศอย่างเป็นทางการ (อ่านประวัติ) โดยเป็นสมาชิกเครือข่าย Alliance of European Voluntary Service หรือเครือข่ายองค์กรอาสาสมัครที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก European Union (EU) โดยการเข้าเป็นสมาชิกต้องผ่านการคัดกรอง และรับรองจากประเทศสมาชิกในการประชุมประจำปี

นนอกจากนี้ VSA Thailand ยังเป็นสมาชิกเครือข่าย CCIVS: Coordinating Committee for International Voluntary Service ที่เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้ร่มของ UNESCO ที่เป็นที่รู้จักันดี 

ดังนั้น VSA จึงต่างจากหน่วยอื่น ๆ ในด้านการแลกเปลี่ยนอาสาสมัครภายในเครือข่ายที่เชื่อถือได้มากที่สุดเครือข่ายหนึ่ง และจัดกิจกรรมภายในประเทศร่วมกับหน่วยงานต่างในประเทศมากที่สุด

ความเป็นเครือข่ายอาสาสมัครระดับโลกนี้เอง ทำให้กิจกรรมของ VSA มีทั้งกิจกรรมภายในและต่างประเทศ และมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนอกห้องเรียนด้าน InterCutural and Language และส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ที่สำคัญคือจิตสำนึกด้านความเป็นพลเมืองโลก Global Citizens ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

อาสาสมัครทำไมต้องจ่ายเงิน

เพราะการทำงานแบบไม่ได้รับทุนสนับสนุนใด ๆ การเริ่มต้นจากศูนย์จึงจำเป็นต้องมีค่าลงทะเบียน เพื่อดูแลหน่วยงาน คนทำงาน และการจัดกิจกรรม ซึ่งเป็นแบบแผนเดียวกันในหน่วยงานของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในอาเซียน และถูกควบคุมดูแลโดยคณะกรรมในการเครือข่ายฯ ด้านความถูกต้องโปร่งใส โดยการรายงาน และประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

เคยมีคำกล่าวว่า งานในโลกนี้มีสองประเภท คืองานที่มีอยู่ก่อนแล้ว และงานที่เกิดขึ้นใหม่ สำหรัลประเภทหลังนั้น ผู้ที่ริเริ่มจำต้องมีกำลังกายกำลังใจอย่างยิ่งยวดในการฝ่าอุปสรรค ทั้งทางด้านทัศนคติ ความเชื่อ และด้านการลงมือปฏิบัติในสังคมทุนนิยม ดังนั้น บันทึกขอให้เป็นคำตอบสำหรับความคลางแคลงต่าง ๆ ซึ่งทุกตัวอักษรรับผิดชอบโดยผู้เขียน

จริญญา  กฤติกานต์

หนึ่งในผู้ก่อตั้ง VSA Thailand