Same Same but different

ทำไมคนไทยมักจะใช้วลีนี้ในการอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้กับชาวต่างชาติเข้าใจ และได้ข้อสรุปคือความไม่เข้าใจแทบทุกครั้งไป

เสื้อยืดสกรีน Same Same but different สามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยเฉพาะย่านการค้าขายนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบนเกาะนักท่องเที่ยว เช่น เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เป็นต้น และที่สำคัญมักจะวางขายคู่กับเสื้อผ้าที่มีสีเขียว เหลือง แดง สัญลักษณ์ของดนตรีเรกเก้ และใกล้กันมักมีรูปของ บ็อบ มาร์เลย์ สกรีนอยู่บนเสื้อด้วยเช่นกัน

ที่สำคัญเมื่อไม่นานมานี้เจออาสาสมัครไทยกำลังอธิบายตัว "อุง" (หรือ "ชันโรง" ในภาษาถิ่นกลาง) เมื่ออาสาต่างชาติถามว่าผึ้งใช่ไหม  ว่า same same but different. วลีที่ว่านี้คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นจาก

สองข้อข้างต้นทำให้เรากลัวที่จะอิธบาย และกลายเป็นนิสัยที่ชาวต่างชาติมักบอกว่า คนไทยขี้เกียจแม้จะอธิบาย แต่ลักษณะเหล่านี้มักไม่พบในผู้ที่มีความชำนาญในการใช้ภาษา และแสวงหาความรู้อยู่เสมอ

ข้อความที่ว่านี้จึงกลายเป็นหัวข้อหนึ่งในการประชุมอาสาสมัครไทยว่า ภาษาอังกฤษ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สิ่งที่ต้องการสื่อสาร แม้จะใช้ภาษาได้ดีมาก แต่พูดไร้สาระก็ไม่มีใครอยากจะฟัง ฉะนั้น การพูดน่าฟัง มีสาระ สามารถสร้างบุคลิกภาพและความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นได้นั้น มาจากการฝึกฝนและแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสังเกตหนึ่ง เมื่อวันหนึ่งพบว่าอาสาสมัครชาวฝรั่งเศสพูดเล่นกับอาสาสมัครไทย เมื่ออาสาสมัครไทยขอให้เขาหยิบสิ่งของให้ว่า "give me ten bath" อาสาสมัครคนหนึ่งแซวว่า "You are Thai Now" และอาสาสมัครชาวฝรั่งเศสคนนั้นก็พูดว่า "Yes, I'm saying Thai sense now"

อะไร คือ Thai Sense หรือลักษณะนิสัยแบบไทย น่าจะเป็นความขี้เล่น, ความไม่ถือโกรธเคืองง่าย ๆ ตรงกับวลีที่ว่า "อะไรก็ได้" หรือ "ไม่เป็นไร" 

อาสาสมัครนานาชาติที่ Peace Viallge ตอนนี้กำลังเรียนรู้ Thai sense อย่างเมามัน กับอาสาสมัครไทย เอ๊ะ แต่ตอนนี้อาสาสมัครไทย ได้เรียนรู้ western sense อะไรบ้างน้า

Gate/VSA